วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การมีส่วนร่วม







การมีส่วนร่วม (participation) คือ เป็นผลมาจากการเห็นพ้องกันในเรื่องของความ ต้องการและทิศทางของการเปลี่ยนแปลงและความเห็นพ้องต้องกัน จะต้องมีมากจนเกิด ความคิดริเริ่มโครงการเพื่อการปฏิบัติ เหตุผลเบื้องแรก ของการที่มีคนมารวมกันไดควร จะต้องมีการตระหนักว่าปฏิบัติการทิ้งหมดหรือการกระทำทั้งหมด ที่ทำโดยกลุ่มหรือใน นามกลุ่มนั้น กระทำฝานองค์การ (organization) ดังนั้นองค์การจะต้องเป็นเสมือนตัวนำให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงได้

ชุมชนเข้มแข็ง







กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด”  มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาความเป็นมา  กระบวนการจัดการ รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการจัดการ รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของสังคมไทย 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับกระบวนการเสริมสร้างตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของไทย อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน  การศึกษาวิจัยนี้  อาศัยแนวทางผสมผสานทั้งการศึกษาในเชิงเอกสาร (documentary study) การศึกษาวิจัยในภาคสนามโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research)
 ผลการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย  พบว่า มีกระบวนการจัดการที่สำคัญ  7 ประการที่ก่อให้เกิดศักยภาพของการพัฒนาชุมชนไปสู่ความเข้มแข็ง   คือ 1)  กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2)  กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  3)  กระบวนการการฟื้นฟู  ผลิตซ้ำและสร้างใหม่  4) กระบวนการใช้สิทธิชุมชนและข้อบัญญัติของชุมชน  5) กระบวนการตัดสินใจร่วมกันของชุมชน 6) กระบวนการของเครือข่ายการพัฒนา  และ 7) กระบวนการด้านการจัดการตนเอง 
 ผลการศึกษาตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง พบว่า มีประโยชน์ 6 ประการในการพัฒนาชุมชน คือ 1) การนำตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งมาเป็นเป้าหมายหรือทิศทางในการดำเนินงาน  2) การนำตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และประเมินผลตนเอง  3) การนำตัวชี้วัดเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้มองเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 4) การใช้ตัวชี้วัดมาเป็นกระบวนการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพให้กับชุมชน 5) การใช้ตัวชี้วัดเป็นกระบวนการเพื่อถักทอความสัมพันธ์ของคนในชุมชนก่อให้เกิดพลังการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และ 6) การใช้ตัวชี้วัดเป็นกระบวนการสร้างแนวทางใหม่ในการประเมินผลงานพัฒนา ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้ทั้งในระดับนโยบายและในระดับชุมชน

เศรษฐกิจชุมชน



เศรษฐกิจชุมชน



เศรษฐกิจชุมชนที่พึงปรารถนา คือกิจกรรมเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ที่คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมเป็นเจ้าของ โดยการพัฒนาจากฐานของ “ศักยภาพของท้องถิ่น” หรือ “ทุนในชุมชน” ซึ่งร่วมถึงเงินทุน แรงงาน วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ วัด ที่ดิน แหล่งน้ำ ความหลากหลายทาง   ชีวภาพ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ฯลฯ
         เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยใช้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งจะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ในขณะเดียวกันยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ หรืออีกนัยหนึ่ง เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ
 ฐานคิด
         1. เน้นการพัฒนาอย่างบูรณาการ มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และยึดพื้นที่เป็นหลัก เพื่อให้การพัฒนาตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน และสอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น
         2. สร้างภาคีและเครือข่ายความร่วมมือ ในลักษณะ “พหุภาคี” เพื่อประสาน “พลังสร้างสรรค์” ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน โดยมีองค์กรชุมชนเป็นแกนกลาง ส่วนภาคีอื่นๆ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้น อำนวยความสะดวก ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนา
         3. เริ่มการพัฒนาจากชุมชนท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติ และให้องค์กรชุมชนเป็นจักรกลสำคัญในการดำเนินการพัฒนา เพื่อให้เกิดพลังการพัฒนาจากความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง
         4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวบ้านและการสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งด้านการศึกษา สาธารณะสุข การผลิต การตลาด การระดมทุน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
         5. ใช้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้างการเรียนรู้และสร้างอาชีพที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คนในชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านเพศ วัย การศึกษา ความถนัด ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ
         6. ยึดปรัชญาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวพระราชดำรัส “การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง” ตามขั้นตอนของ “ทฤษฎีใหม่”

แนวทางปฏิบัติ
         1. สร้างเวทีการเรียนรู้ เช่น เวทีประชาคมตำบล/อำเภอ ร้านค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน ฯลฯ
         2. วิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่น (ทุนในชุมชน)
         3. วางแผนพัฒนา “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” ตามขั้นตอนของ “ทฤษฎีใหม่”
         4. ส่งเสริมการรวมกลุ่ม (กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์) และการสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน
         5. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การบรรจุหีบห่อ การสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
         6. พัฒนาระบบตลาด เช่น ตลาดในท้องถิ่น สร้างเครือข่ายผู้ผลิต-ผู้บริโภค เชื่อมโยงผู้ผลิตกับตลาดในเมือง/โรงงาน อุตสาหกรรมการเกษตร ฯลฯ
         7. พัฒนากิจกรรมทางด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม
         8. วิจัยเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
         9. สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนแบบเบ็ดเสร็จระดับอำเภอ/จังหวัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนท้องถิ่น
         10. สร้างหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนาสถานที่ศึกษาดูงาน
         11. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อใช้ช่วยตัดสินใจในการทำธุรกิจชุมชน
         12. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่สังคมในวงกว้าง

สรุป         การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ความสำคัญต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นการพัฒนา ที่เน้นกระบวนการมากกว่ารูปแบบ และต้องการความต่อเนื่องในการปฏิบัติรวมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่เริ่มจาก ฐานทรัพยากรในท้องถิ่น (ทุนในชุมชน) ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพหุภาคี ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง

สังคมไทย เป็นสังคมเกษตร โดยพิจารณาจากวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพที่ตั้งของประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ชุมชนของคนไทยโดยทั่วไปเป็นชุมชนในชนบทเป็นส่วนใหญ่ และมีชุมชนในเขตเมือง โดยเฉพาะในเมืองหลักของแต่ละภูมิภาคและเมืองหลวงของประเทศ อันได้แก่ เชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ นครราชสีมา เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชลบุรีเป็นเมืองหลักของภาคตะวันออก สงขลาเป็นเมืองหลักของภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
สังคมชนบท เป็นครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และมีลักษณะเบ็ดเสร็จช่วยกันทำงาน วัด เป็นสถานที่สำคัญอย่างหนึ่งและมีอยู่มากมาย เพื่อใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ชาวชนบทส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กับประเพณีเดิม ชาวชนบทเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวชนบทมีอัตราการเกิดสูง ระดับการศึกษาและเทคนิคในอาชีพต่ำ เป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์กันตามประเพณี ชาวชนบทส่วนใหญ่ใช้เงินไปในพิธีกรรมต่างๆ ชาวชนบทมีระดับความคิดและความเข้าใจแคบ มักมองอยู่แต่เฉพาะเรื่องใกล้ๆ ตัว ค่านิยมชาวชนบทไทย การนับถือผู้ใหญ่ ยกย่องนักเลงหรือผู้มีอำนาจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตใจกว้างขวาง รู้จักบุญคุณ ไม่เอารัดเอาเปรียบและไม่เบียดเบียนเพื่อนบ้าน รักญาติพี่น้องและท้องถิ่น 


สังคมเมือง  เป็นครอบครัวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะทุติยภูมิ  ความผูกพันกันในครอบครัวมีน้อย อาชีพของชาวเมืองมีมากมาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นศูนย์รวมของการศึกษา การปกครอง ธุรกิจการค้าและอื่นๆ ชาวเมืองส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้ เป็นสังคมที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการอพยพเข้ามาในเมือง  คนในเมืองมีการแข่งขันแย่งชิงกันสูง  ค่านิยมความโอ่อ่า วัตถุนิยม
     ความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองลดลง เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร  การคมนาคม การเคลื่อนย้ายของชาวชนบทเข้าไปสู่ในเมือง  เนื่องจากชาวเมืองอพยพโยกย้ายไปอยู่ในชนบทหรือเขตชานเมือง เนื่องจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากความเจริญทางด้านการศึกษา ประชากรในชุมชนนั้นจะเปลี่ยนสภาพชีวิตความเป็นอยู่เป็นชีวิตแบบเมืองได้รวดเร็วกว่า ทั้งนี้ก็เนื่องจากการถ่ายทอดและการแพร่ทางวัฒนธรรม 
         

ชีวิตคนชนบท







ชีวิตคนชนบทกับชีวิตคนในเมือง โดย นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
          คนในชนบทส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร การเกษตรเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับดิน น้ำ และอากาศเป็นอย่างมาก ชีวิตคนในชนบทจึงมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนตกตามฤดูกาลพืชผลก็จะงอกงาม ถ้าปีใดแห้งแล้งพืชผลก็จะเสียหาย คนชนบทก็จะเดือดร้อนมีข้าวไม่พอกิน ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อจะมาซื้อข้าวกิน ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตที่สำคัญของคนในชนบท ไม่ว่าจะทำอะไร เมื่อไร หรือจะกินอะไรก็ขึ้นกับธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคกลาง ชาวนามักจะเริ่มปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน โดยการไถและหว่านหรือปักดำ ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม และจะเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน-  มกราคม การทำนาโดยอาศัยน้ำฝนนี้เรียกว่า "การทำนาปี" ส่วนภาคใต้มีฝนตกล่ากว่าในภาคอื่น ๆ ชาวนาในภาคใต้จึงเริ่มการไถเพื่อเตรียมพื้นที่และปักดำข้าวในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน และจะเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
          อาหารการกินของคนชนบทก็อาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกพืชผักท้องถิ่น เช่น กระถิน ยอดมะขาม หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตำลึง เป็นต้น ซึ่งชาวชนบทไม่ต้องซื้อกินเหมือนคนในเมือง นอกจากนี้ พวกสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นก็ใช้เป็นอาหารสำหรับคนชนบทได้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกกันว่าภาคอีสาน มักกินพวกจิ้งหรีด ตั้กแตน ตัวอ่อนของดักแด้ไหม ส่วนทั่ว ๆ ไปก็กินปูนา กบและเขียด ตลอดจนกุ้งฝอยและปลา ที่มากับกระแสน้ำในฤดูน้ำ คนชนบทในภาคอีสานมักจะนำปลาและกุ้งที่จับได้นำมาทำเป็นปลาร้า และกุ้งแจ่ว เพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ ส่วนคนชนบทที่อยู่ใกล้บริเวณอ่าวไทย เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ก็ได้อาศัยธรรมชาติ คือน้ำทะเลทำนาเกลือและทำการประมง การทำมาหากินของคนชนบทจึงขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นซึ่งไม่เหมือนกัน
          คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ส่วนใหญ่ไม่ทำการเกษตร ชีวิตประจำวันของคนในเมืองจึงไม่ต้องอาศัยธรรมชาติมากเท่ากับคนในชนบท การไม่ต้องพึ่งธรรมชาติทำให้คนในเมืองมีวิถีชีวิตซึ่งมักถือกันว่าเจริญแล้ว คือ จะเลือกทำอะไรก็ได้หลายอย่าง  ตัวอย่างเช่น ทำการค้า ทำอุตสาหกรรม การก่อสร้างและให้บริการ สิ่งเหล่านี้มิต้องพึ่งปริมาณฝนแต่ขึ้นอยู่กับเงินทุน และเครื่องจักรกลมากกว่า ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ การดำเนินกิจการต่าง ๆ นี้ ให้ผลิตผลต่อประเทศดังนี้ การทำการค้าคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๗ การทำอุตสาหกรรมร้อยละ ๒๑.๓ การก่อสร้างร้อยละ ๕.๗ และการให้บริการร้อยละ ๑๕.๒ แต่คนในเมืองต้องพึ่งอาหารการกินซึ่งเป็นผลิตผลมาจากชนบท การที่คนในเมืองมีเงินไปซื้อเครื่องจักรและเครื่องใช้จากต่างประเทศนั้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากเงินที่ขายผลิตผลทางการเกษตรที่คนชนบทผลิตได้ และวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทอาหาร จำพวกผักและผลไม้กระป๋อง น้ำมันพืช ก็ใช้วัตถุดิบจากการเกษตรทั้งสิ้น ดังนั้น ความเจริญในเมืองเกือบทั้งหมด ในประเทศของเราจึงมีรากฐานมาจากชนบท

ความยากจน





"ความยากจน" โดยทั่วไปจะหมายถึงความยากจนในเชิงเศรษฐกิจ (Monetary Dimension) นั่นคือพิจารณา ที่ระดับรายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลว่ามีรายได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือมีรายได้ ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตขั้นต่ำที่ยอมรับในแต่ละสังคม เมื่อนิยามความยากจนอิงกับการขาดแคลนรายได้เช่นนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงใช้รายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือน และแนวทางในการแก้ไขปัญหา ก็จะมุ่งเน้นที่การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตสินค้า และบริการที่ดำเนินการโดยคนจน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของตลาดในด้านต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อคนจน ตลอดจน การให้เงินอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เบี้ยยังชีพคนชรา เป็นต้น
          ปัจจุบันได้มีแนวคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยในมุมมองใหม่นี้มิได้พิจารณาเฉพาะการมีรายได้น้อยหรือการบริโภค น้อยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงมิติอื่นๆ ที่มิใช่ตัวเงิน (Non-monetary Dimension) ดังที่ปรากฏอยู่ในคำนำของรายงาน การพัฒนาโลก 2000/2001 การขจัดความยากจน ดังนี้

          "ความยากจน มิได้จำกัดแต่เพียงการมีรายได้น้อยและการบริโภคน้อยเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงการขาดโอกาสด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และโอกาสอื่นในการพัฒนาคน การไร้ซึ่งอำนาจ การขาดสิทธิขาดเสียง ตลอดจนการตกอยู่ในความเสี่ยง และความหวาดกลัว"

          เมื่อนิยามความยากจนอิงกับมิติด้านอื่นๆ ที่กว้างขึ้น เช่น ความขาดแคลนโอกาสในด้านต่างๆ และขาดแคลนอำนาจและสิทธิ ของบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงกว้างขึ้นเช่นกัน นั่นคือดูที่ศักยภาพของคนจนว่าได้รับการเสริมสร้าง และพัฒนาอย่างไร เช่น การขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมต่างๆ ของรัฐ อาทิ การศึกษา การสาธารณสุข ควบคู่ไปกับการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน ทุน และตลาด ตลอดจนการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ทรัพยากรและอำนาจทางการเมืองให้กับท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

เขื่อนขุนด่านปราการชล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ






เขื่อนขุนด่านปราการชล หรือเดิมเรียกว่าเขื่อนคลองท่าด่านเป็นเขื่อนคอนกรีตอัดบดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม

ความสำคัญ
ที่ราบลุ่มนครนายกมีระดับน้ำใต้ดินมีการลดระดับหรือพื้นที่ลาดเทค่อนข้างมาก ทำให้น้ำไหลบ่ารุนแรงในช่วงฤดูฝน ส่วนบริเวณพื้นที่ชลประทานนครนายก เป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมีระดับน้ำใต้ดินต่ำจึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งส่วนในฤดูฝนกลับเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่มีความลาดเอียงน้อยทำให้น้ำระบายออกยากน้ำจึงท่วมขังเป็นเวลานาน การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำนครนายกตอนบนจึงเป็นการชะลอกระแสน้ำไม่ให้ไหลอย่างรุนแรงในช่วงฤดูฝนโดยจะกักเก็บน้ำไว้ และในทางกลับกัน จะสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งได้แทนที่จะต้องเผชิญกับภัยแล้ง

การท่องเที่ยว
เขื่อนขุนด่านปราการชลเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชมวิวเหนือสันเขื่อน สามารถมองเห็นตัวเมืองนครนายกและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้ที่สันเขื่อน นอกจากนี้ยังสามารถเช่าเรือหางยาวเพื่อชมน้ำตกที่อยู่ลึกเข้าไปในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนได้

การเดินทาง
เดินทางโดยรถยนต์มายังตัวเมืองนครนายกโดยอาจใช้ถนนสายรังสิต-นครนายก(ทางหลวงหมายเลข 305) หรืออาจใช้ถนนเส้นเก่าคือถนนสุวรรณศร (ทางหลวงหมายเลข 33) ซึ่งจะอ้อมกว่า จนถึงตัวเมืองนครนายกให้ใช้เส้นทางเดียวกับไปน้ำตกนางรอง (ทางหลวงหมายเลข 3049) ผ่านอุทยานวังตะไคร้และเลี้ยวขวาเข้าถนนสู่ตัวเขื่อน
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ–นครนายก มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ทุกวัน
รถตู้ กรุงเทพ-นครนายก-เขื่อนขุนด่าน โดยสามารถขึ้นที่ [1] อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ [2] ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต [3] หน้าโรงพยาบาลนครนายก (ฝั่งโรงพยาบาล