วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ชุมชนเข้มแข็ง
กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา กระบวนการจัดการ รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการจัดการ รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของสังคมไทย 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับกระบวนการเสริมสร้างตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของไทย อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน การศึกษาวิจัยนี้ อาศัยแนวทางผสมผสานทั้งการศึกษาในเชิงเอกสาร (documentary study) การศึกษาวิจัยในภาคสนามโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research)
ผลการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย พบว่า มีกระบวนการจัดการที่สำคัญ 7 ประการที่ก่อให้เกิดศักยภาพของการพัฒนาชุมชนไปสู่ความเข้มแข็ง คือ 1) กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ 3) กระบวนการการฟื้นฟู ผลิตซ้ำและสร้างใหม่ 4) กระบวนการใช้สิทธิชุมชนและข้อบัญญัติของชุมชน 5) กระบวนการตัดสินใจร่วมกันของชุมชน 6) กระบวนการของเครือข่ายการพัฒนา และ 7) กระบวนการด้านการจัดการตนเอง
ผลการศึกษาตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง พบว่า มีประโยชน์ 6 ประการในการพัฒนาชุมชน คือ 1) การนำตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งมาเป็นเป้าหมายหรือทิศทางในการดำเนินงาน 2) การนำตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และประเมินผลตนเอง 3) การนำตัวชี้วัดเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้มองเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 4) การใช้ตัวชี้วัดมาเป็นกระบวนการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพให้กับชุมชน 5) การใช้ตัวชี้วัดเป็นกระบวนการเพื่อถักทอความสัมพันธ์ของคนในชุมชนก่อให้เกิดพลังการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และ 6) การใช้ตัวชี้วัดเป็นกระบวนการสร้างแนวทางใหม่ในการประเมินผลงานพัฒนา ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้ทั้งในระดับนโยบายและในระดับชุมชน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น